วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันขึ้นปีใหม่


Happy New Year

Happy New Year

ประวัติวันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ (Happy New Year) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ปี หมายถึง เวลาชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน และ เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ
วันขึ้นปีใหม่ไทยประเพณีปีใหม่ของไทยสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ตอนต้น ถือวันทางจันทรคติเป็นวันขึ้นปีใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีโบราณของไทยต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป
วันปีใหม่ 2555
สำหรับ พิธีของราชการและประชาชนในวันขึ้นปีใหม่ ก็จะมีตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึง วันที่ 1 มกราคม เช่น เคยยึดถือมาเดิม คือในวันสิ้นปีหรือ วันที่ 31 ธันวาคม ทางราชการหรือประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จัดให้มีการรื่นเริง มหรสพ และในตอนเช้า วันที่ 1 มกราคม ก็จะมีการทำบุญตักบาตร สุดแท้แต่การจัด บางปีมีการจัดร่วมกัน บางปีบางท้องที่ก็ไปทำบุญตักบาตรกันที่วัดหรือที่ใดๆ บางท่านบางครอบครัว ก็มีการทำบุญตักบาตรหรือการทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ที่สำนักงานของตน
***********************************************************************************

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

***********************************************************************************

เพลงปีใหม่

เพลงสวัสดีปีใหม่ – สุนทราภรณ์

เนื้อเพลง สวัสดีปีใหม่
ศิลปิน : สุนทราภรณ์
สวัสดีปีใหม่แล้ว ผองไทยจงแคล้วปวงภัย
ช่วยกันรับขวัญปีใหม่ เถลิงฤทัยไว้มั่น
สุขศรีปีใหม่หมาย สุขใจและกายรวมกัน …


เพลงสวัสดีปีใหม่ – เบิร์ด Happy New Year

เนื้อเพลง สวัสดีปีใหม่
ศิลปิน : เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์
หนาวๆๆๆๆนั่งๆนอนๆต้องห่มผ้าห่ม ใครไปภูกระดึงผิงไฟ
ดูๆๆๆๆเห็นนาฬิกามันพาเราไป เราก็รีบตามไปก็แล้วกัน
ดีๆๆๆๆ ถึงไงก็ดีกว่าอยู่เปล่าๆ เอายังไงก็เอาไม่ว่ากัน …
***********************************************************************************

คำอวยพรปีใหม่

Greetings of the New Year. Wishing you all success in the next.
สวัสดีปีใหม่ขออวยพรให้ท่านจงประสบความสำเร็จในทุกๆสิ่งในปีใหม่นี้

We wish you a holiday season that is filled with wonder and delight!
เราขออวยพรให้เทศกาลวันหยุดของคุณเติมเต็มไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์และความเบิกบานใจ

One of my favorite gifts is hearing from you. Greetings of the season to you and yours.
ของขวัญลํ้าค่าคือการทราบข่าวคราวจากคุณเทศกาลแห่งอวยพรนี้จงเป็นของคุณและครอบครัว

Happy holidays! Wishing you all the joys of the season. Happy holidays!
ขออวยพรให้คุณมีความปีติยินดีตลอดทั้งปี

Christmas Greetings Wishing you a prosperous New Year! Christmas Greetings
ขออวยพรให้ท่านจงเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูตลอดปีใหม่

***********************************************************************************

กลิตเตอร์วันปีใหม่

รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่   รูปภาพกลิตเตอร์ วันปีใหม่

กลอนปีใหม่

กลอนปีใหม่

กลอนสวัสดีปีใหม่
สวัสดีปีใหม่  ส่งใจอวยพร
เขียนเป็นคำกลอน  ให้พรสุขี
ขอให้ทุกท่าน  พ้นผ่านไพรี
อยู่ดีกินดี  โชคดีตลอด
มั่งมีเงินทอง  ข้าวของสินสอด
รายได้ตลอด  ให้ปลอดโรคภัย
เรื่องเจ็บอย่าป่วย  ความซวยห่างไกล
ทุกข์เข็ญจัญไร  จงไกลห่างตัว
จงสุขสำราญ  เบิกบานกันทั่ว
ความเลวความชั่ว  ห่างตัวห่างใจ
จงมีแต่สุข  เรื่องทุกข์อย่าใกล้
โชคดีปลอดภัย  คนไทยทุกคน
กลอนอวยพรปีใหม่
พร…ระริน สิ้นทุกข์พบสุขสันต์
ปี…เก่าพลันหมดไปใจสุขี
ใหม่…ผ่านมาจงอุ่นอบพบสิ่งมี
ใส่…โชคดีปีใหม่สดใสพลัน
พาน…พบสิ่งแสนดีไม่มีหมอง
จาก…พี่น้องร่วมใจในร้อยฝัน
บ้าน…รวมรักถักถ้อยร้อยจำนรร
สวน…สร้างสรรสิ่งดีปีใหม่เทอญ

วันคริสต์มาส


christmas

วันคริสต์มาส (Merry Christmas)
25 ธันวาคม ของทุกปี
ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของชาวคริสต์ เทศกาลสำคัญที่ว่านี้คือ เทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการประสูติของพระคริสต์เทศกาลคริสต์มาสจะจัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 ธันวาคมของทุกปี ในบางประเทศคริสต์มาสอาจจะเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งเดือน ช่วงเวลานี้เรียกว่า “แอดเวนท์” (มาจากภาษาลาติน แปลว่า “กำลังมา”) และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคมซึ่งเป็นวันที่นักปราชญ์สามคนที่มาจากทิศตะวันออกนำของขวัญมามอบแก่พระกุมารเยชู ด้วยเหตุนี้ในคืนวันที่ 6 มกราคม จึงเป็นคืนแห่งการมอบของขวัญในหลาย ๆ แห่งของโลก
และเมื่อวันคริสต์มาสอันเป็นวัดสุดยอดของเทศกาลมาถึง การเฉลิมฉลองก็จะเริ่มขึ้น ในช่วงเทศกาลนี้บ้านเรือนจะถูกตกแต่งให้สดใสอบอุ่นด้วยต้นคริสต์มาสที่ประดับประดาเอาไว้อย่างสวยงาม ที่ใต้ต้นคริสต์มาสจะมีของขวัญวางเรียงไว้มากมาย ประตูบ้านและขอบเตาผิงจะถูกตกแต่งด้วยหรีดกิ่งสนและฮอลลีในเดนมาร์กมีการประดับกิ่งเบริร์ชด้วยผลแอปเปิ้ลสีแดงผลเล็ก ๆ และคนแคระตังจิ๋วที่เรียกว่า “พิสเชอร์” ในนอรเวและสวีเดนมีการทำสัตว์ตัวเล็ก ๆ จากฟางแล้วผูกด้วยริบบิ้นสีแดง
เมื่อพูดถึงอาหารในวันคริสต์มาสจะมีอาหารพิเศษมากมายทั้งไก่งวงที่แสนอร่อย เนื้ออบก้อนโตซอสแครนเบอร์รรี ขนมพาย พุดดิง เค้กและคุกกี้เป็นร้อย ๆชนิด ที่ฝรั่งเศษมีการทำเค้กพิเศษเป็นรูปขอนไม้รสชาติเข้มข้นที่เรียกว่า บุช เดอ โนแอล (ขอยไม้คริสต์มาส)และหลังจากอาหารค่ำที่แสนวิเศษผ่านไปนาทีอันน่าระทึกใจก็มาถึงนั่นก็คือการแกะของขวัญนั่นเอง คริสต์มาสเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่มีเรื่องให้พูดถึงไม่รู้เบื่อ สำหรับใครก็ตามที่กำลังจะฉลองเทศกาลนี้ก็ขอให้มีความสุขมาก ๆ
                    ทุกวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี จะมีการฉลองรื่นเริงในหมู่คริสต์ศาสนิกชนทั่วโลก กิจกรรมในวันนี้มีแต่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ไม่ว่าจะเป็นการกินเลี้ยง แลกของขวัญ แต่งบ้านด้วยต้นคริสต์มาส ร้องเพลงคริสต์มาส ไปจนถึงเอาถุงเท้าไปแขวนรอซันตาคลอสผู้อารีย์นำของขวัญมาใส่ไว้ให้
วันคริสต์มาสมีความสำคัญคือ เป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ พระเยซูเป็นชาวยิว ประสูติในประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งเดิมตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใกล้เคียงมาเป็นเวลาช้านาน มีนักปราชญืชาวยิวหลายท่านพยากรณ์ว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะมีพระบุตรของพระเจ้าเสด็จลงมาปลดแอกชาวยิวให้ได้รับอิสระภาพในที่สุดวันนั้นก็มาถึง เมื่อพระเยซูประสูติที่หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดา มารดาของพระองค์ชื่อมาเรีย (ซึ่งเรารู้จักในนามแม่พระ) บิดาชื่อโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้
พระเยซูทรงพระปรีชาสามารถมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์สามารถโต้ตอบกับพระชาวยิวในด้านศาสนาได้อย่างฉะฉาน ชีวิตในตอนต้นของพระองค์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายทรงมีอาชีพเป็นช่างไม้ช่วยบิดา จนพระชนมายุราว 30 พรรษา จึงเสด็จออกประกาศคำสอนและทรงรักษาคนป่วยประเภทต่าง ๆเช่น คนตาบอด ง่อยเปลี้ย ให้กลับเป็นปกติดังเดิม
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ
ต้นคริสต์มาสในสมัยโบราณ “ต้นคริสต์มาส” หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบ ผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า (ปฐก.3:1-6) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์แสดงละครที่ หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ ที่หาง่ายที่สุด ในประเทศ เหล่านั้น การแสดงละครคริสต์มาสแบบนี้ มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดงนั้น กลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมือง และศาสนา ซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาส ดูละครสนุกๆ แบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาไว้ที่บ้าน หลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอปเปิ้ล ขนมและของขวัญอย่างที่เห็นอยู่ ทุกวันนี้ …..นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาส มีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ ก็ยังนิยมทำกันอยู่ เพราะเห็นว่า มีความหมายถึงพระเยซูเจ้า ผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิต? ที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึง นิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจากนั้นยังหมายถึง ความสว่างของพระองค์ เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืด ทั้งยังหมายถึง ความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูเจ้าประทานให้ เพราะต้นไม้นั้น เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้น

christmas
ซานตาคลอส
                          ซานตาคลอสที่เรารู้จักตคุ้นเคยและเห็นภาพดังที่พรรณนามาตั้งแต่ตอนต้น เพิ่งมีกำเนิดขึ้นมาเมื่อไม่เกิน 200 ปีนี้เอง กลุ่มชนที่สร้างเรื่องราวของวันซาคลอส จนกลายเป็นตำนานสำคัญส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส คือ ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์รุ่นบุกเบิกนั่นเอง
ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับซานตาคลอสเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีเด็กชายคนหนึ่งเกิดในหมู่บ้านไมรา ซึ่งสมัยก่อนโน้น ตั้งอยู่ระหว่างเกาะโรดส์กับไซปรัส แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านเดมรี มีบ้านเรือนตั้งเรียงรายบนสันทรายใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เด็กชายผู้เกิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชื่อว่า “นิโคลัส” ชีวิตของเขาอยู่บนกองเงินกองทองเพราะพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย ไม่ช้าไม่นานพ่อแม่ก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินจึงตกเป็นของเขาเพียงผู้เดียว แต่น่าแปลกที่นิโคลัสกลับมีใจโอบอ้อมอารีต่อคนยากคนจน ชอบแจกสมบัติช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนกลายเป็นขวัญใจของคนทุกเพศทุกวัย
ครั้งนั้นก้อยังมีครอบครัวของชายชราคนจนครอบครัวหนึ่ง กำลังมีปัญหาด้วยบุตรสาวทั้งสามต้องการแต่งงาน แต่ไม่มีเงินจัดพิธีให้สมเกียรติก่อนคนสุดท้อง ครอบครัวนี้จึงตกอยู่ในความทุกข์อย่างหนัก
แต่เมื่อนิโคลัสทราบข่าว จึงนำทองคำใส่ถุง 2 ถุง แอบย่องเข่าไปวางไว้ในบ้านของชายยากจนยามดึกสงัด ทำให้ 2 สาวได้จัดพิธีแต่งงานได้อย่างใหญ่โตสมความปรารถนา ต่อมาก็ถึงเวลาของบุตรสาวคนสุดท้องนิโคลัสก็นำถุงทองแอบมาหย่อนลงทางปล่องไฟในยามราตรี เหตุที่ต้องใช้ปล่องไฟเพราะคืนนั้นหน้าต่างปิดสนิท
จากพฤติกรรมของนิโคลัสเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่เด็ก ๆ ในสมัยต่อมา แอบนำของขวัญวางไว้ที่เตียงนอนของลูก ๆ ในตอนกลางคืน แล้วบอกว่า ซันตาคลอสนำของขวัญมามอบให้กลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ยกย่องซันตาคลอสให้ฝังอยู่ในจิตสำนึกของเด็ก ๆ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและนี่ก็คือ ตำนานความเป็นมาของ กำเนิดซานตาคลอส ” บิดาแห่งวันคริสต์มาส “นั่นเอง
เมื่อชาวดัตช์บางกลุ่มอพยพมาอยู่ในอเมริกาก็นำเอาความเชื่อถือศรัทธาในนักบุญนิโคลัสติดมาด้วย ยังมีการเฉลิมฉลองวันเซนต์นิโคลัสกันทุก ๆ ปี ในเดือนธันวาคม และในที่สุดก็ได้มีการดัดแปลงผสมผสานเข้ากับความเชื่อถือของชาวอเมริกันเชื้อสายอื่น ๆ ทางแถบตะวันออกของอเมริกาตำนานเซนต์โคลัสก็เลยมาผูกโยงกับการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาส “ซินเตอร์คลาส” ของชาวดัตช์ซึ่งต่อมาได้กร่อนกลายเป็น “ซานตาคลอส” ก็มีบทบาทและหน้าที่สำคัญ คือ แจกของขวัญแก่เด็ก ๆ ในตอนเช้าตรู่ของทุกวันคริสต์มาสดังที่รู้ ๆ กันอยู่
ทั้งนี้ ภาพซานตาคลอส ภาพแรกที่ปรากฏเป็นชายแก่ใจดี เคราขาวพุงพลุ้ย ใส่เฟอร์โค้ทตัวหนาสีแดงขลิบขาว หอบข้าวของพุรุงพะรังเช่นที่เราคุ้นเคยกันนั้น เป็นฝีมือการวาดจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผสมผสานกับจินตนาการส่วนตัวของนักเขียนการ์ตูนชื่อดังชาวอเมริกัน ที่ชื่อว่า “โธมัส แนสท์” ภาพแรกของซานตาคลอสนี้ปรากฏเป็นครั้งแรกในนิตยสาร harper’s illustrated weekly ปี พ.ศ.1863
ต่อมาเรื่องราวของซานตาคลอสก็แพร่กระจายไปสู่คริสต์ศาสนิกชนประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จนกระทั่งหลาย ๆ ประเทศสามารถสร้างตำนานที่มีรายละเอียดแบบเอ็กซ์ลูซีฟเกี่ยวกับซันตาคลอสเป็นของตนเอง เช่น ซานตาคลอสประเทศฟินแลนด์ที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด ซานตาคลอสมีบ้านและออฟฟิศอยู่ที่เมืองโรวานีมี เป็นเมืองท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี อยู่ในเขตแลปแลนด์ แคว้นหนึ่งของประเทศฟินแลนด์
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าซานตาคลอสจะอยู่ที่ไหน จะเป็นของชาติใด แก่นแท้ หรือสปิริตของความเป็นซานตาคอลสก็คือ ความรัก ความเมตตา กรุณา และความสดใสร่าเริง ซึ่งเป็นของสากลสำหรับมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาและทั่วทุกหนทุกแห่ง
เพลงคริสต์มาส
              เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ
  • เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles
    ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่
  • เพลง Silent Night, Holy Night
    ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก
เพลง : Jingle Bell
Dashing through the snow
On a one-horse open sleigh,
Over the fields we go,
Laughing all the way;
Bells on bob-tail ring,
making spirits bright,
What fun it is to ride and sing
A sleighing song tonight
Jingle bells, jingle bells,
jingle all the way!
O what fun it is to ride
In a one-horse open sleigh
A day or two ago,
I thought I’d take a ride,
And soon Miss Fanny Bright
Was seated by my side;
The horse was lean and lank;
Misfortune seemed his lot;
He got into a drifted bank,
And we, we got upsot.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
A day or two ago,
the story I must tell
I went out on the snow
And on my back I fell;
A gent was riding by
In a one-horse open sleigh,
He laughed as there
I sprawling lie,
But quickly drove away.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
Now the ground is white
Go it while you’re young,
Take the girls tonight
And sing this sleighing song;
Just get a bob-tailed bay
two-forty as his speed
Hitch him to an open sleigh
And crack! you’ll take the lead.
Jingle Bells, Jingle Bells,
Jingle all the way!
What fun it is to ride
In a one-horse open sleigh.
_______________________________

วันรัฐธรรมนูญ

วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย

วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย

วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันหยุดราชการเพื่อรำลึกถึงรัฐธรรมนูญของประเทศนั้น ๆ วันรัฐธรรมนูญมักจะถูกจัดให้ตรงกับวันครบรอบการลงลายมือชื่อ การประกาศใช้ หรือการเห็นชอบซึ่งรัฐธรรมนูญ หรือในบางกรณี เพื่อรำลึกถึงวันที่ประเทศเปลี่ยนการปกครองเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เรามาทำความรู้จักความหมาย และที่มาของวันรัฐธรรมนูญกัน

 
วันรัฐธรรมนูญ ประวัติวันรัฐธรรมนูญของไทย

ความหมายของรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมาของวันรัฐธรรมนูญ
การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
  • หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
  • อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
  • รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร
จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว” สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
  • พระมหากษัตริย์
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • คณะกรรมการราษฎร
  • ศาล
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า ”พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475″ จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ ดังนี้
  1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน – 10 ธันวาคม 2475)
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 – 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 – 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 – 23 มีนาคม 2492)
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 – 29 พฤศิกายน 2494) ถูกยกเลิกโดยคณะรัฐประหาร
  6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 – 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 – 20 มิถุนายน 2511)
  8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 – 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิวัติ
  9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 – 7 ตุลาคม 2517)
  10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 – 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
  11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 – 20 ตุลาคม 2520)
  12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 – 22 ธันวาคม 2521)
  13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 – 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกโดยคณะ รสช.
  14. รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม – 9 ตุลาคม 2534)
  15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 – 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
  16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 – 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยคณะ คปค.
  17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 – 24 สิงหาคม 2550)
  18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 – ปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น “คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ” (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีทั้งหมด 309 หมวด โดยมีเนื้อหาสาระตามหมวดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  • คำปรารภ
  • หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
  • หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
  • หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
  • หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
  • หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
  • หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
  • หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
  • หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
  • หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
  • หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
  • หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
  • หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (มาตรา 259-278)
  • หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
  • หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)
  • หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
  • บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
วันรัฐธรรมนูญ
สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม
กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี
ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้
หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ
มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

วันพ่อแห่งชาติ

ธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ
[พระราชประวัติ] [พระราชกรณียกิจ] [กิจกรรมที่ปฏิบัติ]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมาน์ออเบิอร์น (Mount Auburn) เมืองเคมบริดจ์ (Cambridge) รัฐแมสซาชูเชตต์ (Massachusetts) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล ทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ จนถึง พ.ศ. 2476 จึงเสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทรงศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในแขนงวิชาวิทยาศาสตร์
วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต เดิมทีพระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่าจะครองราชสมบัติเพียงชั่วระยะเวลาจัดงานพระบรมศพพระบรมเชษฐาให้สมพระเกียรติ เพราะขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษา 18 พรรษาเศษ ไม่เคยเตรียมพระองค์เพื่อดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์มาก่อนเลย แต่ด้วยความจงรักภักดีของเหล่าอาณาประชาราษฎร์ที่มีต่อพระองค์อย่างแน่นแฟ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา แต่เนื่องจากยังมีพระราชกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ และทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและรัฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

เหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาวิชาการเพิ่มเติม เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ.2489 ระหว่างประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง พระองค์ทรงได้ยินราษฎรคนหนึ่งตะโกนลั่นว่า “ในหลวง อย่าทิ้งประชาชน”
พระองค์ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า
“ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนได้อย่างไร”
หลังจากเหตุการณ์นั้นผ่านไปประมาณ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบชายผู้ตะโกนทูลพระองค์ในครั้งนั้น เมื่อคราวเสด็จเยี่ยมราษฎรในต่างจังหวัด ชายผู้นั้นกราบบังคมทูลว่า ที่เขาร้องเช่นนั้น เพราะรู้สึกว่าเหว่และใจหายที่พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปจากเมืองไทย เขาเห็นพระพักตร์เศร้ามาก จึงร้องไปเหมือนคนบ้า พระเจ้าอยู่หัวทรงตอบว่า
“นั้นแหละ ทำให้เรานึกถึงหน้าที่ จึงต้องกลับมา”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”   และพระองค์ได้พิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่หัวใจของชาวไทยทุกดวงแล้วว่า พระองค์ได้ทรงอุทิศทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังความคิดในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เพื่อความผาสุกของพสกนิกรของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมอาชีพ การเกษตร การอุตสาหกรรม การศึกษา การสาธารณสุข และการต่างประเทศ ฯลฯ

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้เสด็จออกไปเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดารเพื่อความรับทราบความ เดือดร้อนและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ในคราวที่เกิดสาธารณภัยต่าง ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้ น้ำท่วม ลมพายุพัดบ้านเรือนราษฎรให้ได้รับความเสียหาย พระองค์จะทรงห่วงใยและอาทรในความเดือนร้อนของพวกเขาเหล่านั้น ทรงรับสั่งให้มีการช่วยเหลือและพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นการ ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ทำให้เหล่าพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า มอบความจงรักภักดีต่อพระองค์ด้วยการทูลไว้เหนือเกล้า เมื่อถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ทางราชการและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลอง และประกอบสาธารณกุศลต่าง ๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล อีกทั้งยังถือเอา
วันที่ ๕ ธันวามคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกด้วย

ในวันนี้ จะมีการประดับไฟตามสถานที่ราชการและอาคารบ้านเรือนราษฎรทั่วไป ในกรุงเทพฯ ประชาชนจะพร้อมใจกันมาชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ส่วนในต่างจังหวัดก็จัดให้มีการชุมนุมในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อร่วมจุดเทียนชัย และร้องเพลงสดุดีมหาราชากระหึ่มพร้อมกันทั่วประเทศโดยมีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทุกช่อง
พระราชกรณียกิจ

แหล่งอ้างอิง: http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/5%20December/King_birthday.html

ด้านการศึกษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่าการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาประเทศและพัฒนาให้ประชาชนภายในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังพระราชดำรัสครั้งหนึ่งว่า “การศึกษาซึ่งเป็นรากฐานส่งเสริมความเจริญ” ทรงส่งเสริมการศึกษาของประชาชนในชาติทั้งในเมืองและในชนบทถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพระราชทานโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชนที่ยากจนและด้อยโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงก่อตั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหลายโครงการ ได้แก่
ทุนอานันทมหิดล โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์
โรงเรียนสอนเด็กที่ประสบเคราะห์กรรมโรงเรียนร่มเกล้าโรงเรียนราชประชาสมาสัยโครงการสารานุกรมไทยโครงการพระดาบส
ด้านการพัฒนาชนบท
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎร ในถิ่นทุรกันดารทำให้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภค ไฟฟ้า น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะการคมนาคมที่ไม่สะดวกทำให้ไม่สามารถนำความเจริญต่าง ๆ เข้าไปถึงได้ จึงมีพระราชดำริที่จะพัฒนาช่วยเหลือให้ประชาชนที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทรงเน้นการพัฒนาอย่างเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ซึ่งจะต้องสร้างพื้นฐานให้มั่นคงก่อน และประการสำคัญจะต้องสามารถพึ่งพาตนเองได้ ต่อมาจึงพัฒนาสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามลำดับ วิธีการดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลานานและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตัวอย่างความสำเร็จในแนวพระราชดำรินี้ ดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง ๆ เป็นต้น นักวิชาการทั้งหลายต่างก็ยอมรับกันว่าแนวทางการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำรินี้ จะเป็นการพัฒนาประเทศแบบกระจายความเจริญไปสู่ประชาชนผู้ยากไร้ในชนบท ตลอดจนเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมให้แก่ประเทศชาติเป็นอย่างดี ทรงก่อตั้งศูนย์พัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดย มุ่งเน้นเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้มีความเจริญมากขึ้น ศูนย์พัฒนาอันเนื่องมากจากพระราชดำริมีทั้งหมด 6 ศูนย์ ได้แก่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนตามแนวพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ต.ห้วยทราย จ.เพชรบุรี
ศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.นราธิวาส
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานตามแนวพระราชดำริ ตั้งอยู่ที่บ้านนกเค้า ต.ห้วยขวาง อ.เมือง จ.สกลนคร
ด้านสาธารณสุข
การเสด็จเยี่ยมประชาชนในถิ่นทุรกันดารบ่อยครั้ง ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพบเห็นประชาชนที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก จึงทรงก่อตั้งโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยแก้ไขด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและยากจน ขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การที่มีคณะแพทย์พระราชทานออกไปบำบัดรักษาผุ้ป่วยทำให้ราษฎรได้มีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และไม่ต้องเสียค่ารักษาพยาบาลแต่อย่างใด รวมถึงโครงการอบรมหลักสูตร หมอหมู่บ้าน โดยเริ่มต้นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรกนอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่พระราชนิเวศน์ตั้งอยู่ เช่น โรงพยาบาลนราธิวาสโรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลค่ายกาวิละจัดเป็นสถานที่สำหรับฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้ราษฎรที่เข้ารับการอบรมแล้วนำความรู้กลับไปช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง การอบรมจะเน้นเรื่องการสาธารณสุข เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การเวชศาสตร์ป้องกันโรคอย่างง่าย การติดต่อกับเจ้าหน้าที่รักษาพยาบาลของรัฐบาลเป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงให้จัดชุดหน่วยแพทย์พระราชทานขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลประจำจังหวัดต่าง ๆ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นต้น

ด้านการเกษตร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยในด้านการเกษตรมาตั้งแต่ขึ้นครองราชสมบัติ ด้วยทรงเห็นว่า ราษฎรส่วนใหญ่ในประเทศประกอบอาชีพหลัก คือ การเกษตรเป็นสำคัญ โดยมีพระราชดำริให้เกษตรกรพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้น ทรงได้ค้นคว้าทดลองสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร เช่น วิจัยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชปรับปรุงดิน และพืชสมุนไพร ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช โครงการด้านการเกษตรที่ทรงตั้งขึ้น มีดังต่อไปนี้
โครงการส่วนพระองค์เกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ในปี พ.ศ. 2495 ทรงเลี้ยงปลาหมอเทศในสระหน้าพระที่นั่งอุดรในบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน
นาข้าวทดลอง ในปี พ.ศ. 2505 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำพันธุ์ข้าวดีสำหรับนาดำ มาปลูกทดลองในบริเวณสวนจิตรลดา
โรงโคนมสวนจิตรลดา
โรงสีข้าวตัวอย่างสวนจิตรลดา

ห้องปฏิบัติการเนื้อเยื่อ
สวนสมุนไพร ในปี พ.ศ. 2529 โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
โรงเห็ด ในปี พ.ศ. 2531
การใช้ประโยชน์จากผักตบชวา
การเกษตรแบบยั่งยืน
ด้านการชลประทานและพัฒนาแหล่งน้ำ

เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำเกษตรกรรม หากเกิดความขาดแคลนหรือมีมากจนท่วมไร่นา ก็จะทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงเริ่มโครงการชลประทานตามพระราชดำริขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือจากกรมชลประทานและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาหาข้อมูลเพื่อพิจารณาจัดสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ ตลอดจนคลองระบายน้ำและคลองส่งน้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งนี้พระองค์จะเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรต้นน้ำลำธารจริง ๆ และตรวจสอบกับชาวบ้านเพื่อความถูกต้องของข้อมูลด้วยพระองค์เอง ก่อนจะทรงกำหนดแนวทางในการแก้ไขให้กรมชลประทานและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป

ด้านการทหาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่ทรงเป็นจอมทัพไทย ทรงตระหนักถึงความสำคัญของผู้ที่ทำหน้าปกป้องบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง เมื่อครั้งที่ประเทศไทยยังประสบกับภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และขบวนการโจรก่อการร้ายต่าง ๆ ในช่วงราวปีพุทธศักราช 2515 – 2520 ได้ทรงเสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนทหาร ตำรวจ ตลอดจนอาสาสมัครที่ปฏิบัติราชการอยู่ตามแนวชายแดนเป็นประจำ พร้อมทั้งพระราชทานสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีพและเวชภัณฑ์ให้กับบรรดาทหารหาญเหล่านั้นด้วย
และเมื่อทหารเหล่านั้นได้รับบาดเจ็บ เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็จะเสด็จฯ เยี่ยมด้วยพระองค์เอง สำหรับทหารที่พิการทุพพลภาพอันเนื่องมาจากการสู้รบป้องกันชาติก็โปรดฯ ให้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพและฝึกฝนด้านงานอาชีพ เพื่อสามารถหาเลี้ยงชีพช่วยเหลือตนเองได้ต่อไป ในกรณีที่ทหารเสียชีวิตในการทำงานเพื่อชาติ จะทรงพระกรุณาฯ พระราชทานทรัพย์อุปการะครอบครัวและช่วยการศึกษาบุตรของเขาเหล่านั้น กับจะทรงเสด็จฯไปร่วมในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพแก่บรรดาผู้กล้าเหล่านั้นด้วยพระองค์ทุกครั้ง

ด้านการปกครอง

เนื่องจากทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยจะทรงบริหารปกครองประเทศผ่านทางรัฐสภาจึงทรงถือเป็นพระราชภารกิจสำคัญในการที่จะเสด็จฯ ไปทรงเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรด้วยพระองค์เองทุกครั้งตลอดมา

ด้านการศาสนา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงดูแลอุปภัมภ์ศาสนาทุกศาสนาที่มีอยู่ในเมืองไทย และในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะ พระองค์ก็ทรงออกผนวช เช่นเดียวกันกับผู้ชายชาวพุทธส่วนใหญ่ โดยทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งในขณะที่ทรงผนวชก็ทรงปฏิบัติพระองค์ตามกฏระเบียบของสงฆ์อย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับพระภิกษุรูปอื่น ๆ
พระองค์ยังได้เสด็จฯ ไปทรงประกอบศาสนกิจอยู่เป็นนิตย์เสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จฯ ไปบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในโอกาสต่าง ๆ หรือเสด็จฯ ไปตามคำกราบบังคมทูลของคณะกรรมการวัดและของกรมศาสนา รวมทั้งยังทรงพระราช0ทาน ทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อการปฏิสังขรณ์วัดที่ชำรุดทรุดโทรมต่าง ๆ อีกด้วย
สำหรับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามนั้น เมื่อมีการกราบบังคมทูลเชิญเสด็จไปในงานพิธีสำคัญ ๆ ของศาสนานั้น ๆ ก็จะเสด็จฯ ไปทรงร่วมในพิธีด้วยเสมอเช่นกัน
ด้านประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช จะทรงถือปฏิบัติตามแบบแผนโบราณราชประเพณีดั้งเดิมทุกประการในการพระราชพิธีต่าง ๆ อาทิเช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งประเพณีของไทยให้คงอยู่สืบเนื่องตลอดไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาว่าทรงเป็นอัครศิลปินแห่งชาติ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ด้วยพระองค์ทรงเป็นเอตะทัคคะในศิลปะหลายสาขา ได้ทรงสร้างสรรค์งานศิลปะประเภทต่าง ๆ ทั้งทางด้าน ดุริยางคศิลป์ ด้านทัศนศิลป์ และด้านวรรณศิลป์ ให้ประจักษ์แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติอย่างมากมาย
นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกแก่ศิลปะทุกแขนง เช่นทรงรับสมาคมที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์หลายสมาคม กับทรงอุปถัมภ์ศิลปินโดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องเชิดชูเกียรติคุณของศิลปินอาวุโสที่มีความรู้ความสามารถ พร้อมกับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในคราวเจ็บป่วยตามสมควร
ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

หลังจากที่ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ในช่วงปีพุทธศักราช 2502 ถึง 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้เสด็จฯ เยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งในแถบยุโรป อเมริกาเหนือและเอเซียเพื่อเป็นการเจริญทางพระราชไมตรีระหว่างประเทศให้มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทรงนำความปราถนาดีของประชาชนชาวไทยไปมอบให้กับประชาชนในประเทศนั้น ๆ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น และถึงแม้ว่าหลังจากปีพุทธศักราช 2510 เป็นต้นมา พระองค์จะมิได้เสด็จต่างประเทศอีก (ยกเว้นเมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2517 นี้ได้ทรงเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หลังจากที่เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานร่วมในการเปิดสะพานเชื่อมระหว่างประเทศมิตรภาพไทย – ลาวแล้ว) เพราะทรงมีพระราชภารกิจในประเทศมากมาย แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสและพระราชธิดาเสด็จฯ ไปเยือนต่างประเทศแทนเพื่อทรงนำวิทยาการและสิ่งที่ได้ไปทรงพบเห็นกลับมาใช้พัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป นอกเหนือจากนั้นยังทรงเสด็จฯ ออกให้การต้อนรับพระราชอาคันตุกะที่เป็นประมุขของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จหรือเดินทางมาเยือนรวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้บรรดาทูตานุทูตเข้าเฝ้าอยู่ตลอดเสมอมา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
จัดพิธีทางศาสนา ทำบุญใส่บาตร อุทิศเป็นพระราชกุศล
จัดนิทรรศการ เผยแพร่พระราชประวัติ พระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจที่ทรงอุทิศเพื่อความผาสุกของประชาชนชาวไทย
จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
ร่วมกิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล ด้วยการจุดเทียน ร้องเพลงสดุดีมหาราชาพร้อมกันทั่วประเทศ
ทศพิธราชธรรม
ทศพิธราชธรรม หรือราชธรรม 10 เป็นธรรมสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน หรือคุณสมบัติของนักปกครองแผ่นดินโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชน มีด้วยกัน 10 ประการคือ
ทาน การให้
ศีล ความประพฤติดีงาม
ปริจจาคะ ความเสียสละ
อาชชวะ ความซื่อตรง
มัททวะ ความอ่อนโยน
ตปะ ความทรงเดชเผากิเลสตัญหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ
อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ
อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน
ขันติ ความอดทนเข้มแข็งไม่ท้อถอย
อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม
สังคหวัตถุ 4 ประการ
คือ คุณธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้อื่นไว้ได้ ได้แก่
ทาน การแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน
ปิยวาจา พูดจาน่ารัก น่านิยมนับถือ
อัตถจริยา บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น
สมานัตตตา ความมีตนเสมอ คือ ทำตัวให้เข้ากันได้ เช่น ไม่ถือตัว ร่วมทุกข์ ร่วมสุข